เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว ที่ชุมชนริมแม่น้ำซัมรัง ในซัมดรุปจงคาร ประเทศภูฏาน ต้องใช้ชีวิตอยู่ในความหวาดกลัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูมรสุมทุกๆปี เมื่อแม่น้ำที่ท่วมท้นอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือน และ พื้นที่เพาะปลูกของพวกเขานั่นเอง...
"ลักมล ไร" วัย 63 ปี ชาวเมืองสำรัง เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อ 20 ปีก่อนว่า "ฉันสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมไปราว 4 เอเคอร์ จากอุทกภัยครั้งใหญ่ แม้จะก่อสร้างกำแพงกั้นแม่น้ำเพื่อปกป้องชุมชน แต่กระแสน้ำที่เปลี่ยนทิศ กลับทำให้ความเสี่ยงทวีความรุนแรงมากขึ้น" และ "ทุกๆมรสุม แม่น้ำจะเปลี่ยนเส้นทาง และ ไหลมายังหมู่บ้านของเราเสมอ..."
"ลักมล ไร" กล่าวว่า "ฉันและชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำสำรัง ต้องสูญเสียพื้นที่ดินไปกว่า 100 เอเคอร์ จากน้ำท่วมในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา สำหรับชาวบ้านส่วนใหญ่แล้ว พื้นที่ดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ของพวกเรา ถูกฝังอยู่ใต้ชั้นทรายและเศษซากต่างๆ..." และ "ไม่เพียงแต่หมู่บ้านหลักมลรายเท่านั้น ชาวบ้านจำนวนมากในหมู่บ้านสำโรงตอนล่าง ยังต้องหวาดกลัวต่อน้ำที่ท่วมขังตลอดเวลา โดยช่วงมรสุมทำให้เรานอนไม่หลับเลย เพราะหลายครัวเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำ และ ทุกๆช่วงมรสุม ชาวนาต่างหวาดกลัวเช่นกัน" และ "ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่น และ สมาชิกรัฐสภาจะตระหนักถึงปัญหานี้ แต่พวกเขากลับไม่มาดำเนินการอะไรๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการดำรงชีพของเราเลย"
ในปี 2012 ฝ่ายบริหารเกวอก ได้สร้างกำแพงกาบิออน สูง 2 เมตร และ ยาว 700 เมตร แต่กำแพงกลับจมอยู่ใต้น้ำ เนื่องจากมีเศษซากทับถมในช่วงมรสุม
ชาวบ้านคนหนึ่ง ที่มีชื่อ "คาร์มา วังชุก" กล่าวว่า "น้ำมักจะล้นเข้ามาที่หมู่บ้านของเราเสมอ..." และ "ปัญหาดังกล่าวเลวร้ายลง นับตั้งแต่บริษัท "สเตท ไมนิ่ง คอร์ปอเรชั่น" เริ่มดำเนินการในตอนเหนือของแม่น้ำ ซึ่งพวกเขาทำเหมืองกัน ซึ่งนั่นส่งผลทำให้เกิดการกัดเซาะรุนแรงขึ้น เศษซากต่างๆ เคลื่อนตัวลงไปในแม่น้ำ และ ทำให้พื้นแม่น้ำสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันน้ำมักจะล้นตลิ่งในช่วงมรสุมแล้ว" และ "ตอนนี้ ในทุกๆมรสุม เราต้องตื่นอยู่ตลอดคืน เพื่อเฝ้าดูแลการไหลของแม่น้ำ เพราะกลัวว่าจะสูญเสียที่ดินและปศุสัตว์ของเราไป"
อดีตนายกเทศมนตรี "กุป เอ็มบี กูรุง" กล่าวว่า "การทำเหมืองทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง เพราะเศษหินในการทำเหมือง มันได้กลิ้งลงแม่น้ำ ผลักดันให้แม่น้ำสูงขึ้น และ เมื่อมีฝนตก มันก็เข้าท่วมหมู่บ้านต่างๆอย่างรวดเร็ว" และ "ตอนนี้ทางภาครัฐควรเข้ามาจัดการได้แล้ว!!" และ "ไม่ว่าเราจะร้องเรียนไปยังภาครัฐกี่ครั้ง พวกเขาก็ไม่สนใจพวกเราเลย"
เจ้าหน้าที่กรมธรณีวิทยาและเหมืองแร่ กล่าวว่า "การระเบิดในการทำเหมือง ของบริษัทดังกล่าว เราควบคุมอยู่ตลอด" และ "หมู่บ้านที่อยู่ใกล้ ควรย้ายไปให้ไกลจากเหมือง..."