เป็นการเปิดเผยของ มาร์คัล เลนซ์ เจ้าของบริษัทนักสืบในเยอรมนี โดยเขาอ้างว่า ในปี 2024 ที่ผ่านมา บริษัทของเขาได้รับงานตามสืบว่าพนักงานป่วยจริงหรือไม่ถึง 1,200 เคส ซึ่งเพิ่มมาเป็นเท่าตัวจากปีก่อนหน้า โดยงานที่เขารับนั้นมาจากการว่าจ้างทั้งบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ ไปจนถึงบริษัทขายปุ๋ยเล็กๆ มาร์คัสกล่าวว่า บริษัทเหล่านี้ไม่ได้สนใจการลาป่วยทั่วไป
แต่ประเด็นคือมีพนักงานบางคนที่ปีหนึ่งลาป่วยไป 30 วัน หรือกระทั่ง 100 วัน โดยบริษัทรู้สึกว่ามันผิดสังเกต แต่ในทางเทคนิคส่วนใหญ่ก็ต้องปล่อยผ่าน เพราะกฎหมายแรงงานในเยอรมนีนั้นอนุญาตให้พนักงานลาป่วยโดยได้รับเงินเดือนได้ถึง 6 สัปดาห์ต่อ 1 ปี ทั้งนี้ปรากฏการณ์ ‘การลาป่วย นี้กว้างขวางมากในระดับที่หน่วยงานประเมินประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจแจ้งว่าย้อนไป.oปี 2021
การลาป่วยเฉลี่ยในระบบเศรษฐกิจคือคนละประมาณ 11 วัน แต่พอมาปี 2023 ตัวเลขมันเด้งขึ้นไปเป็น 15 วัน แลประเมินว่าการป่วยทั้งปีในปี 2023 ทำให้ผลผลิตมวลรวมของเยอรมนีลดไป 0.8 เปอร์เซ็นต์ ของที่ควรจะเป็นเลยทีเดียว ทั้งนี้สถิติจากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD ก็ชี้ว่า คนเยอรมันมีการลาป่วยมากกว่าประเทศอื่นจริงๆ
และนั่นคือมากกว่าพวกประเทศยุโรปใต้ที่ได้ขึ้นชื่อว่าใช้ชีวิตกันชิลๆ อย่างอิตาลีและสเปนอีกด้วย ดังนั้น ปัญหา คนเยอรมันลาป่วย เป็นเรื่องใหญ่จริง มีสถิติยืนยัน และก็ไม่แปลกที่สุดท้ายบริษัทต่างๆ ยอมเสียเงินจ้างนักสืบไปตามดูว่ามันเเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้ ก็อย่าแปลกใจกับการจ้างนักสืบไป แอบเช็ก ว่าป่วยจริงหรือไม่ เพราะมีรายงานจากบริษัทอย่าง Tesla ในเยอรมนี ที่ไม่ได้จ้างนักสืบ
แต่จะส่งผู้จัดการไปตรวจสอบถึงบ้านพนักงานเลยว่าป่วยจริงหรือไม่ อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงมีคำถามว่า แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ทำไมอยู่ดีๆ คนเยอรมันถึงลาป่วยกันมากมายจนเป็นปัญหาระดับชาติ? คำตอบอยู่ในช่วงโควิด-19 และถ้าจะบอกว่าช่วงนั้นทำให้พนักงานเคยชินกับการทำงานอยู่บ้านจนขี้เกียจ ไปออฟฟิศเลยล่าป่วย ก็มีส่วนถูก
แต่ไม่ทั้งหมด ในเยอรมนีหรือยุโรปโดยทั่วไปนั้นไม่เหมือนเมืองไทย ที่เราใช้ประกันสุขภาพที่ทำไว้ไปยื่นให้โรงพยาบาลเอกชนเพื่อขอใบรับรองแพทย์ได้ง่ายๆ ระบบสุขภาพยุโรปนั้นวางฐานอยู่ที่โรงพยาบาลรัฐ และโดยทั่วไปคิวจะยาวมาก ดังนั้นจะไปขอใบรับรองแพทย์ก็ต้องไปต่อคิว จึงทำให้ขอยากและลาป่วยยากถ้าไม่ได้ป่วยจริงๆ